Skip to content

MEDTIDE

Esidep, Lexapro และ Escitalopram Sandoz สำหรับโรคซึมเศร้า

  • by

Esidep, Lexapro และ Escitalopram Sandoz คือยาอะไร

  • Esidep® (เอซซิเดพ) Lexapro® (เล็กซาโปร) และ Escitalopram Sandoz® เป็นชื่อการค้าของตัวยาสำคัญชนิดเดียวกัน คือ escitalopram ตัวยามีข้อบ่งใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า (depression) กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือการปรับสมดุลของสารสื่อประสาทให้กลับมาสู่ระดับปกติ
  • ยา esidep และ lexapro เป็นยานำเข้าจากต่างประเทศทั้งคู่และเป็นยาที่มีราคาสูงเนื่องจากยังถือว่าเป็นยาที่ค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับยาต้านซึมเศร้าอื่น เช่น serlift® หรือ zoloft®
  • ปัจจุบันยังไม่มีบริษัทยาใดในประเทศไทยที่สามารถผลิตยาราคาถูกมาจำหน่ายแทนยา esidep และ lexapro // สำหรับยา lexapro จะมีราคาแพงกว่า esidep พอสมควรเนื่องจากเป็นยาต้นแบบ ทำให้เมื่อพิจารณาในเรื่องราคาจะพบว่าผู้ป่วยจะเข้าถึงยา esidep ได้ง่ายกว่า
Escitalopram Esidep 10 mg เอซซิเดพ

ข้อมูลด้านความปลอดภัยของยา Esidep (Lexapro) | ผลข้างเคียงที่สำคัญ

  • อาการไม่พึงประสงค์จากยา esidep (lexapro) มักจะพบได้ในช่วงแรกของการรักษา เช่น คลื่นไส้ ปวดหัว // อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและมักจะหายไปหลังจากทานยาต่อเนื่องไม่กี่สัปดาห์
  • ผู้ป่วยที่เกิดผลข้างเคียงหลังรับประทานยา esidep (lexapro) ไม่ควรหยุดยาเองเนื่องจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษา นอกจากนี้อาจจะเกิดความผิดปกติอื่นๆ จากการหยุดยากระทันหันได้อีกด้วย // แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนตัดสินใจหยุดยาเอง
Escitalopram Lexapro 10 mg เล็กซาโปร

ข้อควรรู้ของยา Esidep (Lexapro)

  • รูปแบบยา ยา esidep จะมีขายขนาดเดียวคือ เม็ดละ 10 มิลลิกรัม แต่ยา lexapro จะมีหลายความแรง รวมทั้งยังมีจำหน่ายในรูปแบบยาน้ำด้วย
  • การเริ่มยา ยานี้มีข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยหลายกลุ่ม จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มยา esidep (lexapro) // ขนาดยาเริ่มต้นโดยทั่วไป คือ 10 mg ต่อวัน ยกเว้นผู้ป่วยบางกลุ่มที่อาจเริ่มขนาดยาต่ำกว่านี้ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับผิดปกติ ทั้งนี้แพทย์อาจปรับขนาดยาให้สูงขึ้นตามผลของการรักษา
  • การหยุดยา ผู้ป่วยที่ใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานแพทย์มักจะค่อยๆ ปรับขนาดยาลงเพื่อให้ร่างกายปรับสมดุลอย่างช้าๆ ผู้ป่วยไม่ควรใจร้อนหยุดยาเองเมื่อพบว่าอาการดีขึ้น
  • คำแนะนำ การหยุดยากระทันหันเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำ กรณีทำยาหล่นหายควรไปรับยาที่โรงพยาบาลก่อนวันนัดหรือซื้อยาสำรองเก็บไว้  อาการที่เกิดจากการขาดยา (withdrawal) หากไม่ได้รับประทานายาต่อเนื่อง 2-3 วัน อาจทำให้พบอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ มึนงง อาการชาตามผิวหนัง เป็นต้น อาการส่วนใหญ่ที่พบมักจะไม่รุนแรง (ยกเว้นกรณีไม่ได้กินยาเป็นระยะเวลานาน) แนะนำให้ผู้ป่วยสำรองยาไว้เพื่อป้องกันกรณีที่ทำยาหล่นหาย
Home
Account
Cart
Pay
error: Copyright - content cannot be reused.